Home » อบรมเครน มีอะไรบ้าง : ทำงานกับปั้นจั่นต้องอบรมอะไรบ้าง

อบรมเครน มีอะไรบ้าง : ทำงานกับปั้นจั่นต้องอบรมอะไรบ้าง

by admin
อบรมเครน

หัวข้อในการ อบรมเครน  ประกอบด้วยอะไรบ้าง เริ่มต้นอบรมอย่างไร

นายจ้าง และ ผู้ที่ปฏิบัติงานกับเครน หรือ ปั้นจั่น จะต้องทำความเข้าใจก่อนเริ่มงานเกี่ยวกับการจัดให้พนักงานที่ทำงานกับปั้นจั่นต้องผ่านการ อบรมเครน ก่อนเริ่มงานตามกฎหมายเพื่อให้ลูกจ้างเกิดความปลอดภัยในการทำงาน กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ได้กำหนดไว้ว่า

ข้อ 72 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นผ่านการอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัยในการทำงานของปั้นจั่น การป้องกันอันตรายจากปั้นจั่น รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างอุปกรณ์ การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ของปั้นจั่น รวมทั้งการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นแต่ละประเภท โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นแต่ละประเภท ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด 

ชุดเครื่องมือ

ใครบ้างต้อง อบรมเครน

ผู้ที่ปฏิบัติงานกับปั้นจั่นทุกชนิดที่มีขนาดพิกัดการยกอย่างปลอดภัย (Safe working load) ตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไป ต้องฝึกอบรมตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และ การอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ซึ่งทั้ง 4 ผู้ หมายถึงใคร ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ฉบับข้างต้น ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

อบรมผู้บังคับปั้นจั่น

“ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่นให้ทำงานตามความต้องการ

“ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณสื่อสารชนิดอื่นกับผู้บังคับปั้นจั่น

“ผู้ยึดเกาะวัสดุ” หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่ผูก มัด หรือเกี่ยววัสดุที่ให้ปั้นจั่นยก

“ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น” หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่อำนวยการใช้ หรือสั่งการ ให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฏิบัติตาม ตลอดจนพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยก

หลักสูตรการฝึกอบรมมีอะไรบ้าง

หลักสูตรการฝึกอบรมมีอะไรบ้าง

  1. หลักสูตรการฝึกอบรมในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น ได้กำหนดไว้ 4 หลักสูตร ดังต่อไปนี้

  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น
  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
  • หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น

หลักสูตรการฝึกอบรมข้างต้น มีกำหนดระยะเวลาฝึกอบรมความรู้พื้นฐานภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งมีการกำหนดเนื้อหาวิชาที่ต้องอบรมเอาไว้แล้ว

  1. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น 

ประกอบด้วยภาคทฤษฎี ไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง และการทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย

  1. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น ประกอบด้วย ภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 

15 ชั่วโมง และการทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย

  1. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ประกอบด้วย ภาคทฤษฎี ไม่น้อย

กว่า 9 ชั่วโมง และการทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย

  1. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ประกอบด้วยภาคทฤษฎี ไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง และการ

ทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุสิ่งของที่จะยก

  1. หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง

แต่ละหลักสูตรได้กำหนดหัวข้อวิชาที่ต้องอบรมในส่วนของภาคทฤษฎีไว้แล้ว ซึ่งต้องดำเนินการอบรมตามที่กำหนดไว้

สรุป

ในการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับ ปั้นจั่น ต้องจัดให้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีห้องละไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และในการทดสอบภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คนและปั้นจั่น 1 เครื่องต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 20 คน และจะต้องได้รับการทดสอบในสถานที่จริง หรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง เมื่อฝึกอบรมเสร็จสิ้น ผู้จัดฝึกอบรมจะต้องออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมทุกคน 

You may also like