Home » ทำความเข้าใจ : PM ระบบไฟฟ้า ให้พร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย

ทำความเข้าใจ : PM ระบบไฟฟ้า ให้พร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย

by admin
PMระบบไฟฟ้า

PM ระบบไฟฟ้า มีความสำคัญอย่างไร จำเป็นหรือไม่ ?

Preventive Maintenance (PM)  PM ระบบไฟฟ้า หรือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกันของระบบไฟฟ้า คือการบำรุงรักษาประเภทหนึ่ง ที่จะต้องดำเนินการเป็นประจำ เพื่อไม่ให้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรใด ๆ ทำงานล้มเหลวหรือทำงานผิดปกติ ซึ่งการบำรุงรักษาแบบ PM นั้นจะเน้นไปที่การบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ยังปกติดีให้มีความปลอดภัยมากยิ่งชึ้น เรียกง่าย ๆ ว่า PM ก็คือการเฝ้าระวังไม่ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เกิดข้อผิดพลาด 

โดย การ PM นั้นก็ใช้งานได้ในหลากหลายสถานการณ์ ในวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับ Preventive Maintenance (PM) ในระบบไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งระบบสำคัญที่ขาดไม่ได้ สำหรับภาคอุตสาหกรรม เป็นระบบที่จำเป็นที่สุด และอันตรายที่สุดในเวลาเดียวกันนั่นเอง 

pmระบบแผงไฟฟ้า

ทำความเข้าใจกับ Preventive Maintenance หรือ PM ระบบไฟฟ้า 

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันของระบบไฟฟ้า ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ และ บำรุงรักษาอุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ ไม่เกิดอันตรายต่อผู้งาน โดยหลัก ๆ แล้วจะมีดังนี้

  • ตรวจสอบและทำความสะอาดแผงวงจรไฟฟ้า รวมไปถึงเบรกเกอร์เพื่อให้มั่นใจว่าทำงานได้ถูกต้อง ไม่เสี่ยงต่อการเกิดความร้อนสูงจนเกิดอันตรายต่อตัวอุปกรณ์และผู้ใช้งาน
  • ตรวจสอบสายไฟและจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ เพื่อหาร่องรอยความเสียหายหรือการเสื่อมสภาพ และเปลี่ยนหรือซ่อมแซมส่วนประกอบใด ๆ ที่เกิดอาการสึกหรอ
  • ทดสอบและเปรียบเทียบมาตรวัดไฟฟ้ารวมไปถึงอุปกรณ์วัดต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถวัดได้ถูกต้อง และเชื่อถือได้
  • ดำเนินการตรวจสอบเครื่องมือไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อระบุปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และเร่งดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะเกิดอันตราย 
  • ดำเนินการบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้งานได้อย่างไร้ปัญหา 

PreventiveMaintenance ระบบไฟฟ้า

ประโยชน์ของ Preventive Maintenance (PM) ในระบบไฟฟ้า

  • ช่วยป้องกันโอกาสที่จะอุปกรณ์หรือเครื่องจักรไฟฟ้าต่าง ๆ จะทำงานล้มเหลวและทำงานผิดพลาด ซึ่งสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมแซม และค่าเสียเวลาระหว่างที่อุปกรณ์หยุดทำงาน 
  • ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ไม่จำเป็นต้องซ่อมบำรุงหรือซื้ออุปกรณ์ใหม่บ่อย ๆ
  • เพิ่มความปลอดภัยในการทำงานให้กับพนักงานรวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานโดยการระบุปัญหาและแก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย
  • ช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบไฟฟ้าพร้อมทำงานอยู่เสมอ ทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพ ตรงต่อเวลา ลดปัญหายิบย่อยที่จะตามมา 
  • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการที่ต้องทิ้งขยะจากขั้นตอนการทำงานที่ผิดพลาด เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่สามารถใช้งานได้ 
  • สร้างความมั่นใจให้แก่พนักงานที่กำลังทำงานอยู่ ว่าระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยแน่นอน 100% 

ดูแลรักษาระบบMDB

สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหากคุณละลายการบำรุงรักษาเชิงป้องกันในระบบไฟฟ้า 

  • ความเสี่ยงที่อาจจะอุปกรณ์รวมไปถึงระบบการทำงานของระบบไฟฟ้าต่าง ๆ จะผิดพลาด ซึ่งนำไปสู่การซ่อมแซมที่มีค่าใช้จ่ายสูง 
  • อายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่สั้นลง ซึ่งอาจจะเพิ่มต้นทุนในการบำรุงรักษาระบบ
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า เนื่องจากปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นไม่ได้รับการระบุและแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหา เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หม้อแปลงมีความร้อนสูง สวิทช์ไฟไม่ได้มาตรฐาน การปิดระบบไฟฟ้าที่ไม่มั่นคงทำให้เหลือไฟฟ้าในระบบ
  • ประสิทธิภาพจากการทำงานลดลง เนื่องจากระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ การทำงานช้าลง ผลลัพธ์ที่ออกมามีคุณภาพน้อยลง 
  • พนักงานขาดความมั่นใจในการทำงาน เกิดความกลัว หวาดระแวง ระหว่างการทำงาน 
  • เกิดภาวะขาดแคลนพนักงานเนื่องจากการบริหารที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ พนักงานเก่าลาออก พนักงานใหม่ไม่กล้าเข้ามาทำงานเพราะกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต 

Preventive Maintenance (PM) ในระบบไฟฟ้านั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณไม่ควรลืมเด็ดขาด เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นแล้ว การแก้ไขปัญหานั้นใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการป้องกันปัญหาอย่างแน่นอน

You may also like